การรักษาผู้ติดยาม้า
ผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าส่วนใหญ่จะได้แก่
ผู้ที่ทำงานในเวลากลางคืน ผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
เช่น พนักงานขับรถโดยสารหรือรถบรรทุก ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ผู้หญิงที่ทำงานกลางคืน ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาที่หักโหมในการดูหนังสือ
เหตุที่เป็นคนเหล่านี้เพราะ
คนเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดว่าหากใช้ยาม้าหรือยาบ้าแล้วจะสามารถทำงานหรือดูหนังสือได้นานมากยิ่งขึ้น
แต่ไม่ได้คำนึงถึงอันตรายและผลร้ายที่ตามมาภายหลัง ซึ่งได้แก่
สุขภาพจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิดใจ เพราะสมองถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา
เมื่อยาหมดฤทธิ์จะอ่อนเพลีย เซื่องซึม เศร้าหมองและหลับนาน ถ้าใช้เกินขนาดจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้น
การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าจะต้องประกอบไปด้วย
1. การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้ว
ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษของยาม้าหรือยาบ้า
ที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาว
เพื่อผู้เสพติดจะได้มีความกลัวต่อผลร้ายเหล่านั้น
และมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง
2. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า
ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น
ครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆ
บ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน
ซึ่งต้องการการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจัง หาข้อมูลให้ถึงแก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม
และดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆ กับข้ออื่นๆ
3. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติด
และพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติดที่จะต้องการละหรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้
4. ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้า
จะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล
ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร
อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากการเสพติดอย่างเด็ดขาด
5. ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า
ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยตนเองแล้ว
ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน ท่านได้ช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวม
อันหมายถึงประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น