การปลูกมะละกอ
การเตรียมต้นกล้า
มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง
เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก
เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก
จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง
การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ แต่เทคนิคที่ได้ผลดี
ทำให้เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตพร้อมเพรียงกัน ใช้สำหรับเพาะปริมาณมาก ๆ มีขั้นตอน ดังนี้คือ
1. เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ย(ยักษ์เขียว)หรือปุ๋ยคอก
1 ส่วน และ อินทรียวัตถุ(ขุยมะพร้าว) 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน
หากใช้ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน
ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วแทนก็ได
แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น
2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว
ที่เจาะรูระบายน้ำ เรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู
ตามจำนวนหลุมปลูกในพื้นที่ซึ่งเราคำนวณ
3. เพาะเมล็ดมะละกอ ให้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอที่เตรียมไว้แช่ด้วยน้ำอุ่นประมาณ
40 องศาเซลเซียส ทิ้งไว้ 1-2 วัน
จนเมล็ดจมอยู่ในน้ำ แล้วแยกเมล็ดเสียที่ลอยน้ำทิ้ง
นำเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำมาคลุกด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก อัตรา 200
กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 ลิตร แล้วห่อด้วยผ้าสำลีหรือผ้าขาวม้าเปียก
คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบ่มไว้ในถาดหรือภาชนะตามสะดวก
เปิดกระสอบรดน้ำวันละครั้งให้พอชุ่ม(อย่าให้แฉะหรือน้ำขัง)หลังจากนั้นประมาณ 4-5
วัน(เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะงอกเร็ว) รากจะเริ่มแทงออกจากเปลือก
ให้คีบเมล็ดที่รากยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มาหยอดลงในถุงชำ
โดยให้ฝังลงในดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร เกลี่ยดินปิด ถุงละ 5 เมล็ด
ส่วนเมล็ดที่เหลือซึ่งรากยังไม่งอก ให้ห่มผ้าและรดน้ำเหมือนเดิม เปิดผ้าวันเว้นวัน
หรือ ทุกวัน เพื่อคีบเมล็ดมาเพาะตามขั้นตอนด้านบน จนหมด
4. นำถุงชำที่หยอดเมล็ดตามขั้นตอนที่ 3 ไปตั้งในโรงเรือนกลางแจ้งที่เตรียมไว้
ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน
รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น หลังปลูก
5. เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ
ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออก เหลือเพียง 3 ต้น หลังจากนั้น ให้ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14
วัน สลับกับการใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดแมลง เมทา-แม็ก ผสมยาจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 5
วัน ครั้งแรกเมื่อต้นกล้าเริ่มงอกและหลังจากนั้น
ช่วงระยะนี้ให้เพิ่มความแข็งแรงให้ต้นกล้าทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ผสม
ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่นหรือผสมน้ำรดทุก ๆ 5-7 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก
6. ย้ายกล้าปลูกหลังต้นมีอายุได้ 30-45 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 6-8 ใบ
การเลือกพื้นที่ปลูก
มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย
ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก
ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7
มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง
ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย ระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 3 x 3 เมตร
หรือ 2.5 x 3 เมตร หรือ2.5x2.5
เมตรสำหรับระบบร่องน้ำ
การเตรียมแปลงปลูก
1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2
ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7
2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2
หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม.
และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2
ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5-1
กิโลกรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี
แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
การให้ปุ๋ย
ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น
เพียงพอสำหรับในช่วงแรก แต่หลังจากลงกล้าปลูกประมาณ 21-30 วัน
จึงเริ่มให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่
มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยแบ่งใส่ปุ๋ยดังนี้
ทางดิน
1. ระยะต้นเล็ก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว)
จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 อาทิตย์ โดยแบ่งใส่ ครั้งละ 1-2 กำมือ(150-300 กรัม)
ต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้มะละกอเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตเร็วและให้ผลผลิตได้นานกว่า
2. เมื่อเริ่มให้ผลผลิต เมื่อมะละกอติดผลแล้วใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตรา 100-150 กรัม(1 กำมือ) ต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์
ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักดีและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด
ทางใบ
1. หลังจากลงย้ายปลูก ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) ฉีดพ่นในอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน
ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ใบเขียวทน แข็งแรง ทนต่อโรคและป้องกันแมลง(ช่วยลดปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนได้)
และศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลาย
2. เมื่อมะละกอเริ่มให้ผลผลิต(ตั้งแต่เริ่มติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุกรุ่น)
ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นช่วงตั้งแต่มะละกอเริ่มแทงช่อดอก
อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน
จนติดผล จะทำให้มะละกอติดดอกและผลมาก ขั้วเหนียว
ให้ผลผลิตได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี เมื่อติดผลแล้ว
ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ
7-10 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเนื้อแน่น ผลใหญ่ ได้น้ำหนัก
3. เมื่อมะละกอติดดอกและมีลูกคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเดียวกัน
ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)และ(สูตรเร่งขนาดผล) ฉีดพ่นสลับกัน ทุก ๆ 7-10 วัน อัตราการใช้ตามข้อ 2 จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ต้นไม่โทรม เก็บเกี่ยวได้นานหลาย
การออกดอกติดผล
มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3
ชนิดอยู่คนละต้น คือ
1. ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง
ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผล
หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ
2. ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้นเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ
รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
3. ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม
ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน
และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด
ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทำให้ผลบิดเบี้ยว และดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเกษตรกรผู้ปลูก
ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็กๆ
นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก
ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลายช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น
ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน
จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย
เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น
จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น
จะเหลือต้นมะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)
ได้โดยให้สังเกตเมื่อมะละกอเริ่มออกดอก
ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา
การป้องกันศัตรูมะละกอ
เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา
มีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลม
มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแล้ง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว
โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาลถ้าเป็นกับผลทำให้ผลกร้านเป็นสีน้ำตาล
ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ และหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป
หรือหากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก
ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน
ไรแดง เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง
ถ้าดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว
หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่าเล็ก
ตัวดำลำตัวรี ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ จะป้องกันการระบาดของไรได้ดี
หากช่วงใดมีอากาศร้อน อบอ้าว จะพบว่ามีไรระบาดมากให้ใช้ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง
เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน ในอัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร
เพื่อตัดวงจรของการระบาด
แมลงวันทอง แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้หลายชนิด
โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก้ ทำให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำลายเนื้อของผลเสียหาย
เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน
ช่วงที่ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน การป้องกัน คือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว
5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล
เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยขับไล่ป้องกันการเข้าทำลายได้ดี
และหากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้เหยื่อโปรตีนผสม เมทา-แม็ก คลุกเหยื่อล่อ วางไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณที่มีการระบาด
เพื่อล่อให้แมลงมาตอม และสัมผัส เมทา-แม็ก แมลงที่มาสัมผัส จะติดโรค
หยุดการเข้าทำลายผลผลิต เคลื่อนที่ช้าลงและตายภายใน 2-3 วัน และให้ป้องกันผลด้วยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย
เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึก ๆ หรือเผาไฟ
แมลงวันผลไม้(แมลงวันทอง)ตายโดย เชื้อ
"เมทา-แม็ก"
เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อน
เป็นแมลงดูดที่สำคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส
ซึ่งโรคนี้พบว่ากำลังเป็นกับมะละกอในแหล่งผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล
เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด
จำพวก ปิโตรเลียมสเปรย์ออล์ย ผสมกับ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น
โรคใบด่างของมะละกอ(ใบจุดวงแหวน) อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ
ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย สำหรับต้นที่โตแล้ว
จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว
ส่วนต้น หรือ ก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเข้ม มะละกอจะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลเลย สาเหตุเกิดจากเชื้อ ปาปายาริงสปอทไวรัส ซึ่งเชื้อนี้บางครั้งมีการแฝงอยู่ในมะละกอตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก
และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่อต้นมะละกออ่อนแอ
การป้องกัน
1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่มีเชื้อปนเปื้อน
2. บำรุงต้นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นแข็งแรง
สามารถแบกผลผลิตได้มาก และมีความต้านทานโรคได้ดีขึ้น
โรคราแป้ง อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ
คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงหรือใบเสียรูป
ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง
แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู
ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุของโรค โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium
sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ
โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
การป้องกันกำจัด
ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เมธาแล็กซิลหรือเบโนมีล หรือไดโนแคพ
โรคโคนเน่า อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำต้น
อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น
และจะปรากฏอาการที่ใบทำให้ใบเหี่ยวและเหลือง
ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำต้นเน่า ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้
สาเหตุของโรค โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora
plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน
เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว
เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น
1. การป้องกันและกำจัด ถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย
การจัดระบบปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น
เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำลาย
ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรรดด้วยเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้
ไตรโคแม็ก ผสมน้ำราดบริเวณโคนต้นตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน
4-7 วัน
โรคแอนแทรคโนส อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย
ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น
และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง
ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
การป้องกันและกำจัด
1. เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ
เปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายจะน้อยมาก จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ใช้
พบว่าปัญหาของโรคลดลงไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนสารเคมี
2. เมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำตามอัตราที่ระบุ
ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
3. แต่หากมีโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10
กรัมตอน้ำ 20 ลิตร แมนโคเซป หรือ แคปแทน
ข้อเปรียบเทียบหลังจากเกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์
ฯลฯ ตามคำแนะนำเป็นประจำ
1. มะละกอติดดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว
ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก
2. แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง
และด้วงกัดกินใบ ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช
และลดความเสียหายได้ดีกว่า (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก
หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช
ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
3. อายุการให้ผลผลิตของต้นจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด
4. เนื้อแน่น สามารถลดการต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมลงได้ประมาณ 20-50%
5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
6. โรคเชื้อราที่เข้าทำลายต้นลดลง
7. หลังจากใช้เป็นประจำการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต
ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม
และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม
ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้
จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้
ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://www.phkaset.com/default.asp?content=contentdetail&id=1691
การจัดการระบบน้ำ ทำอย่างใร กำลังเริ่มจะยกร่องปลูกคับ ใครมี เมล็ดพันธ์ จำหน่ายช่วยแจ้งหน่อย คับ
ตอบลบ