วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

ชื่อ นายเปี่ยมศักดิ์ ฆ้องส่งเสียง เลขที่11 ห้องม.5/10
กลุ่มที่ 10
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา ปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ในปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นได้มีการใช้สารเสพติดกันอย่างแพร่หลาย แทบจะทุกเพศทุกวัยเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะในวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง ทำให้ปัญหายาเสพติดนี้ เป็นปัญหาอย่างมากในวัยรุ่น และในสังคม ซึ่งส่งผลต่อสภาพสังคมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจของผู้เสพ
ทางผู้จัดทำเล็งเห็นว่าปัญหายาเสพติดส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และปัญหาด้านความมั่งคงในประเทศซึ่งอาจนำไปถึงการก่ออาชญากรรม จึงได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เพื่อนำมาทำเป็นหนังสั้นนำเสนอสู่ชุมชน โดยนำเสนอสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมจากปัญหายาเสพติด เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงปัญหายาเสพติด และหวังว่าเมื่อผู้ที่เสพยาเสพติด หรือผู้ที่คิดจะลองได้มาศึกษาและติดตามแล้ว จะทำให้ผู้เสพ กลับตัวกลับใจเพื่อตัวผู้เสพเอง และเพื่อสังคมได้อีกด้วย
ดังนั้นผู้จัดทำจึงนำเสนอแนวคิดและปัญหายาเสพติดที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้ทุกด้านมีส่วนร่วมช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหายาเสพติดในวัยรุ่น
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา
1. ได้รู้ว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่ที่ติดยาเสพติด มีสาเหตุมาจาก ความอยากรู้อยากเห็น ที่จะทดลองยาเสพติด และไม่ตระหนักถึงปัญหาที่จะตามมา หรืออีกส่วนก็มีปัญหามาจากความเครียด เช่น การเรียน ความรัก ครอบครัว และอีกหลายๆเรื่องที่สามารถทำให้เครียด จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นติดยาเสพ
2. จากการฝึกอบรมและเรียนรู้วิธีการทำหนังสั้น สามารถนำความรู้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ เรียนรู้เกี่ยวกับมุมกล้องที่จะนำมาถ่ายทำภาพยนต์สั้น


เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ

            ระหว่างการศึกษาค้นพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเพราะ การที่วัยรุ่นในสมัยนี้มีอิสระมากเกินไป การไม่ใส่ใจของคนในครอบครัวและกฎหมายที่ไม่เข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้คือ เอาใจใส่วัยรุ่นให้มากๆเพราะถ้าเกิดความเครียดแล้วไม่มีใครใส่ใจจะทำให้เกิดการคิดสั้นและนำไปสู่การมีปัญหายาเสพติดตามมาและหน่วยงานทุกส่วนควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติด เช่น โรงเรียนก็มีการรณรงค์เรื่องยาเสพติด บอกโทษและผลเสียของผู้ที่ติดยาเสพติด เพราะถ้าหากไม่ช่วยกันก็จะทำให้ปัญญาหาเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น จนไม่สามารถแก้ไขได้

นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
1. ได้เรียนเกี่ยวกับการสร้าง Blogger เพื่อนำมาประยุกต์และใช้ในการเรียน
2. ได้รู้ถึงขั้นตอนการทำภาพยนต์สั้น 
3. ได้รู้ถึงการเลือกมุมกล้องเพื่อสื่ออารมณ์ของภาพยนตืได้ถูกต้อง



วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถาบันบำบัดผู้ติดยาเสพติด

สถาบันบำบัดผู้ติดยาเสพติด

ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แก่
โรงพยาบาล
     ๑.  โรงพยาบาลราชวิถี โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๐๐๕๒ ต่อ ๔๓๐๒
     ๒.  โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๑๔๐๐ ถึง ๑๔๒๘ ต่อ ๓๑๘๗
     ๓.  โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. ๐ - ๒๔๑๑ - ๒๔๑๙๑
     ๔.  โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร ๐ - ๒๔๔๑ - ๙๐๒๖ - ๙
     ๕.  โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ - ๒๘๖๓ - ๑๓๗๑ ถึง ๒, ๐ - ๒๔๓๗ - ๐๑๒๓ ต่อ ๑๑๕๓,๑๒๔๘
          ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แล้ว


คลินิกยาเสพติดในศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กทม.
     ๑.  คลินิกยาเสพติด ๑ ลุมพินี    โทร. ๐ - ๒๒๕๐ - ๐๒๘๖
     ๒.  คลินิกยาเสพติด ๒ สี่พระยา   โทร. ๐ - ๒๒๓๖ - ๔๑๗๔
     ๓.  คลินิกยาเสพติด ๓ บางอ้อ  โทร. ๐ - ๒๔๒๔ - ๖๙๓๓
     ๔.  คลินิกยาเสพติด ๔ บางซื่อ  โทร. ๐ - ๒๕๘๗ - ๐๘๗๓
     ๕.  คลินิกยาเสพติด ๕ ดินแดน                โทร. ๐ - ๒๒๔๕ - ๐๖๔๐
     ๖.  คลินิกยาเสพติด ๖ วัดธาตุทอง  โทร. ๐ - ๒๓๙๑ - ๘๕๓๙
     ๗.  คลินิกยาเสพติด ๗ สาธุประดิษฐ์       โทร. ๐ - ๒๒๘๔ - ๓๒๔๔
     ๘.  คลินิกยาเสพติด ๘ ซอยอ่อนนุช        โทร. ๐ - ๒๓๒๑ - ๒๕๖๖
     ๙.  คลินิกยาเสพติด ๙ บางขุนเทียน         โทร. ๐ - ๒๔๖๘ - ๒๕๗๐
     ๑๐. คลินิกยาเสพติด ๑๐ สโมสรวัฒนธรรม           โทร. ๐ - ๒๒๘๑ - ๙๗๓๐
     ๑๑. คลินิกยาเสพติด ๑๑ ลาดพร้าว          โทร. ๐ - ๒๕๑๓ - ๒๕๐๙
     ๑๒. คลินิกยาเสพติด ๑๒ วงศ์สว่าง        โทร. ๐ - ๒๕๘๕ - ๑๖๗๒
     ๑๓. คลินิกยาเสพติด ๑๓ ภาษีเจริญ        โทร. ๐ - ๒๔๑๓ - ๒๔๓๕
     ๑๔. คลินิกยาเสพติด ๑๔ คลองเตย         โทร. ๐ - ๒๒๔๙ - ๑๘๕๒

     ๑๕. คลินิกยาเสพติด ๑๕ วัดไผ่ตัน          โทร. ๐ - ๒๒๗๐ - ๑๙๘๕

การรักษาผู้ติดยาม้า

การรักษาผู้ติดยาม้า

ผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าส่วนใหญ่จะได้แก่ ผู้ที่ทำงานในเวลากลางคืน ผู้ใช้แรงงาน หรือผู้ที่ต้องทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น พนักงานขับรถโดยสารหรือรถบรรทุก ผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผู้หญิงที่ทำงานกลางคืน ตลอดจนนักเรียน นักศึกษาที่หักโหมในการดูหนังสือ เหตุที่เป็นคนเหล่านี้เพราะ คนเหล่านี้มักเข้าใจผิดคิดว่าหากใช้ยาม้าหรือยาบ้าแล้วจะสามารถทำงานหรือดูหนังสือได้นานมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ได้คำนึงถึงอันตรายและผลร้ายที่ตามมาภายหลัง ซึ่งได้แก่ สุขภาพจะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิดใจ เพราะสมองถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา เมื่อยาหมดฤทธิ์จะอ่อนเพลีย เซื่องซึม เศร้าหมองและหลับนาน ถ้าใช้เกินขนาดจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
          ดังนั้น การรักษาผู้ที่ติดยาม้าหรือยาบ้าจะต้องประกอบไปด้วย
          1.               การให้ความรู้เกี่ยวกับยาม้าหรือยาบ้าแก่ผู้เสพติดแล้ว ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ถึงพิษของยาม้าหรือยาบ้า ที่มีต่อตัวผู้เสพติดทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อผู้เสพติดจะได้มีความกลัวต่อผลร้ายเหล่านั้น และมีความตั้งใจที่จะเลิกยาม้าหรือยาบ้าอย่างจริงจัง
          2. การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมโดยรอบของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ครอบครัวที่ขาดความเอาใจใส่ที่ดีพอ รวมทั้งเพื่อนฝูง หรือชุมชนโดยรอบๆ บ้านของผู้ติดยาม้าหรือยาบ้า ตลอดจนเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งต้องการการตรวจสอบหาข้อมูลอย่างจริงจัง หาข้อมูลให้ถึงแก่นแท้ของปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และดำเนินการแก้ไขไปพร้อมๆ กับข้ออื่นๆ
          3. ความตั้งใจอย่างแน่วแน่ของผู้เสพติด และพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ที่ติดยาเสพติดที่จะต้องการละหรือเลิกเสพยาม้าหรือยาบ้าตลอดไปให้ได้
          4. ผู้เสพติดยาม้าหรือยาบ้า จะต้องไปรับการรักษาจากสถาบันทางการแพทย์ต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข ทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร อย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายจากการเสพติดอย่างเด็ดขาด

          5. ความสำเร็จในการเลิกเสพติดยาม้าหรือยาบ้า ได้ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ซึ่งนอกเหนือจากการช่วยตนเองแล้ว ท่านได้ช่วยเหลือครอบครัวของท่าน ท่านได้ช่วยเหลือสังคมโดยส่วนรวม อันหมายถึงประเทศไทยอันเป็นที่รักของเรานั่นเอง

การป้องกันการติดยาเสพติด

การป้องกันการติดยาเสพติด
   การป้องกันการติดยาเสพติด
         ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก
         ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด   หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัว จงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
         ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
         ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 0-252-5932   และ  ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)   สำนักนายกรัฐมนตรีโทร. 2459350-9

          ยาเสพติดป้องกันได้
     ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
                • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
                • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
                • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
                • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
                • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่

          ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
               • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
               • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
               • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
               • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด

          ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
                • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
                • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
                • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526

                • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688

เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด

เยาวชนกับการป้องกัน และ แก้ไขปัญหายาเสพติด
ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น 
          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย ดังนี้
          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น  การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม
          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อมไปสู่ชีวิตของตนเอง
          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงามจะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
 การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง
          ๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น               การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
          ๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน  ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
          ๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย

          ๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน