วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกพริกขี้หนู

                                                                                 วิธีการปลูกพริกขี้หนู 

       พริกขี้หนูสามารถปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด  แต่ดินที่เหมาะ สมที่สุดคือดินร่วนปนทราย  ที่มีการระบายน้ำได้ดี  มีความเป็นกรด   เป็นด่างของดิน 6.0 - 6.8  ปลูกได้ตลอดปี  พริกขี้หนูเป็นพืชที่ใช้    ส่วนของผลบริโภค  ในรูปของพริกสดและพริกแห้ง  และสามารถใช้   ประกอบอาหารได้หลายชนิด  มีรสเผ็ด

       


  การเตรียมดินเพาะกล้า

ใช้จอบขุดหน้าดินลึก 15 - 20 ซม.(1 หน้าจอบ)
เตรียมทำเป็นแปลงกว้าง 1 เมตร
ผสมปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว แกลบดำ หรือ ขี้ไก่อัดเม็ด คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากัน
ปรับหน้าดินให้ละเอียดและเรียบ
หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง
ใช้แกลบหรือฟางข้าวบางๆกลบหน้าดิน รดน้ำให้ชุ่ม
อายุของต้นกล้าที่ควรย้ายปลูก  ประมาณ 25 - 30 วัน
การเตรียมแปลงปลูกและย้ายกล้า
ใช้จอบขุดหน้าดินลึก 15 - 20 ซม. ทำแปลงขนาดกว้าง 1 เมตร
ผสมปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  คลุกเคล้ากับดิน
ขุดหลุมปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 30 ซม.  ระหว่างแถว70 - 80 ซม.
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 + ขี้ไก่อัดเม็ด   อัตราส่วนหลุมละ 1 ช้อนชา  ทับหน้าปุ๋ยเคมีด้วยปุ๋ยคอกหลุมละ 1 กะลามะพร้าว
ถอน แยกต้นกล้าลงปลูก  หลุมละ 1 ต้น
ราดน้ำตามให้ชุ่ม


การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย  ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15  หรือ 13-13-21
อัตรา 1 ช้อนชาต่อต้น  ทุกๆ 15 - 20 วัน  โดยโรยห่างโคนต้น
5 ซม. และรดน้ำตามทันที

หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ  โดยใช้ปุ๋ย
วิทยาศาสตร์น้อยลงได้

การให้น้ำ  ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน  อย่าให้ขาดน้ำ
โดยเฉพาะช่วงแรกหลังย้ายปลูก

การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรพรวนดินและกำจัดวัชพืช
ในระยะแรก  อย่าให้วัชพืชรบกวน จะแย่งอาหารได้

การเก็บเกี่ยว
พริกขี้หนูเป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวได้หลัง ย้ายกล้าลงปลูก
60 - 90 วัน  การเก็บเกี่ยวควรเก็บทุกๆ 5 - 7 วัน
โดยใช้วิธีเด็ดทีละผล  อย่าเก็บทั้งช่อ เพราะผลแต่ละช่อแก่ไม่
พร้อมกัน  พริกขี้หนูสามารถเก็บได้ยาวนานถึง 6 เดือน


ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :  http://farmers-thai.blogspot.com/2013/05/blog-post_20.html

การปลูกถั่วลิสงหลังนา

                                                                               ปลูกถั่วลิสงหลังนา เสริมรายได้

          ถั่วลิสงเป็นพืชน้ำมันที่มีอายุสั้น  ใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ   เมล็ดใช้บริโภคโดยตรงในรูปถั่วต้ม ถั่วคั่ว ถั่วอบ ถั่วทอด  หรือทำขนมต่างๆ
และยังนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ   เช่น เนยถั่วลิสง หรือสกัดน้ำมันพืชสำหรับปรุงอาหาร     กากถั่วลิสงที่สกัดน้ำมันแล้วสามารถนำไปทำเป็น
อาหารสัตว์ ต้นถั่วลิสงที่ปลิดฝักแล้วสามารถนำไปเลี้ยงสัตว์หรือไถกลบ เป็นปุ๋ยบำรุงดินได้  สำหรับประเทศไทย การปลูกถั่วลิสงไม่ได้ปลูกเป็นพืช
หลัก และความสำคัญทางเศรษฐกิจค่อนข้างน้อย   แต่ถั่วลิสงสามารถปลูกเป็นพืชรองทั้งสภาพไร่ และสภาพนาเพื่อเสริมรายได้ให้เกษตรกรได้อีก
ทางหนึ่ง




           การปลูกถั่วลิสงฤดูแล้ง หลังการทำนา มีการปลูก 2 สภาพ  คือ ถ้าปลูกโดยอาศัยน้ำชลประทาน ปลูกในเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม
เก็บเกี่ยวเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม   ส่วนถ้าเป็นการปลูกโดยอาศัยความชื้นที่เหลือในดิน   ปลูกในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม   เก็บเกี่ยวเดือน
กุมภาพันธ์ถึงเมษายน

          การเตรียมดิน ไถ 1 ครั้ง ลึก 10 - 20 เซนติเมตร ตากดิน 7 - 10 วัน ไถพรวน 1 ครั้ง  การปลูกโดยอาศัยน้ำชลประทานควรยกร่องปลูกเพื่อ
ความสะดวกในการให้น้ำ ถ้าเป็นการปลูกโดยอาศัยความชื้นที่เหลือในดินและไม่มีการให้น้ำ เงื่อนไขคือต้องมีระดับน้ัำใต้ดินอยู่ตื้น ปริมาณเพียงพอ
ต่อการเจริญเติบโตตลอดอายุ การเตรียมดินควาทำหลายครั้ง เพื่อให้หน้าดินละเอียด ลดการระเหยน้ำจากดิน

           วิธีปลูก  ปลูกด้วยเมล็ดที่มีความงอกมากกว่า 75% อัตราปลูก 17 - 18 กิโลกรัมต่อไร่ ระยะปลูก 50X20 เซนติเมตร จำนวน 2 -3 เมล็ดต่อ
หลุม หลุมลึก 10 เซนติเมตร จะได้ 32,000 - 48,000 ต้นต่อไร่




           การกำจัดวัชพืช  ต้องไม่รบกวนถั่วลิสงโดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรก กำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน 1 - 2 ครั้ง เมื่ออายุ 15 - 20 วันหลังงอก
หรือหากใช้สารกำจัดวัชพืชต้องใช้ในอัตราที่แนะนำ คือใช้อะลาคลอร์  หรือเมโทลาคลอร์ อัตรา 300 - 320 กรัม    สารออกฤทธิ์ต่อไร่  พ่นคลุมดิน
หลังปลูกก่อนถั่วลิสงและวัชพืชงอก ขณะพ่นดินต้องมีความชื้น

           การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 หรือ 16-16-8 อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ รองก้นหลุมก่อนปลูก หรือโรยข้างแถวและพรวนดินกลบ ใส่
ปุ๋ยหลังงอก 15 - 20 วัน

           โรคและแมลง คือโรคโคนเน่า หรือโคนเน่าขาด     การป้องกันกำจัดโรคใช้สารไอโปรไดโอน (50% WP) และเมธาแลกซิล + แมนโคเซบ
72% WP   คลุกเมล็ด อัตรา 2.8 และ 2.0 กรัม   สารออกฤทธิ์ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม      โดยทั่วไปไม่ค่อยพบแมลงศัตรูทำลายแปลงถั่วลิสงมากนัก
แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ หนอนชอนใบถั่วลิสง เพลี่ยอ่อนถั่ว เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น และเสี้ยนดิน พบระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนทั้ง
ช่วงนานเกิน 15 วัน การป้องกันกำจัดหนอนชอนใบถั่วลิสง พ่นไตรอะโซฟอส (40% EC) อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยไฟ
และเพลี้ยจักจั่น การป้องกันกำจัดใช้สารคาร์โบซัลแฟน 20% EC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรืออะซีเฟต 75% WP 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ส่วนดินใช้คาร์แทป 4% G อัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ 2 ครั้ง โรยพร้อมปลูก  และเมื่อถั่วลิสงอายุ 30 - 35 วัน    โดยโรยห่างโคนต้น 10 เซนติเมตร
แล้่วกลบโคน หรือคลอไพริฟอส 5% G อัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ 2 ครั้ง โดยพร้อมปลูก และระยะถั่วแทงเข็ม  โดยโรยห่างโคนต้น 10 เซนติเมตร
แล้วกลบโคน เก็บเกี่ยวถั่วลิสงตามอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือสีของเปลือกฝักด้านในเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์

           จังหวัดอุบลราชธานี  มีพื้นที่ปลูกข้าว 3,334,240 ไร่    มีเกษตรกรหลายอำเภอยังคงมีการปลูกถั่วลิสงเพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัวหลัง
เก็บเกี่ยวข้าว มีการปลูกมากในเขตอำเภอเขื่องใน ตาลสุม ดอนมดแดง เดชอุดม และทุ่งศรีอุดม   เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำชลประทาน บ่อบาดาล
หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ ปี 2552/53 มีพื้นที่ปลูกถั่วลิสง 4,852 ไร่    ผลผลิตเฉลี่ย 310 กิโลกรัมต่อไร่ ฤดูกาลเพาะปลูก 2553/54 พื้นที่ปลูกถั่วลิสง
หลังนา ลดลงจากปี 2552/53 เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยข้าวนาปรัง   แต่อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรที่ยังคงยึดอาชีพการปลูกถั่วลิสงหลังนาเพื่อเสริม
รายได้ อย่างเช่น นายสมเดช  มหาโยธี เกษตรกรบ้านป่าหวาย ตำบลป่าโมง อำเภอเดชอุดม    ได้ปลูกถั่วลิสงหลังนามากกว่า 10 ปี พื้นที่ 2 - 3 ไร่
อาศัยน้ำโดยใช้เครื่องสูบน้ำจากห้วยสาธารณประโยชน์ของหมู่บ้าน หลังเก็บเกี่ยวข้าว    จะเริ่มไถเตรียงแปลงตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ปลูกถั่ว
ลิสงต้นเดือนธันวาคม จะทยอยปลูกทีละ 2 - 3 กระทงนา ใช้แรงงานภายในครัวเรือน และมีการจ้างแรงงานในช่วงเก็บเกี่ยว (ปลิดฝัก) เท่านั้น ผลิต
ถั่วลิสงจำน่ายทั้งฝักสดและฝักแห้ง   โดยมีพ่อค้าจากอำเภอเดชอุดมมารับซื้อผลผลิตในแปลงปี 2553/54 ฝักสดจำหน่ายได้ราคา 15 - 20 บาทต่อ
กิโลกรัม ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ส่วนฝักแห้งจำหน่ายได้ราคา 30 -35 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม





           เกษตรกรบ้านโนนเจริญ  ตำบลนาคาย  อำเภอตาลสุม ปลูกถั่วลิสงโดยอาศัยน้ำจากคลองชลประทาน มีพื้นที่ปลูกตั้งแต่ 1-2 งาน บางราย
1-2 ไร่ จำหน่ายในรูปฝักแห้ง   มีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตในหมู่บ้านช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม บางรายนำไปจำหน่ายเองในจังหวัดอุบลราชธานี
ขายได้ราคา 22 - 25 บาทต่อกิโลกรัม และบ้านโอด ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง

           การปลูกถั่วลิสงอยู่บริเวณคลองส่งน้ำ  ผู้ปลูกส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเครือญาติ พื้นที่ปลูกมีตั้งแต่ 1 งาน  จนถึง 1 - 2 ไร่  ผลิตในรูปฝักแห้งและ
นำไปจำหน่ายเองในจังหวัดอุบลราชธานี ราคา 22 -25 บาทต่อกิโลกรัม

           บ้านนาห่อม อำเภอทุ่งศรีอุดม ปลูกโดยอาศัยบ่อน้ำบาดาล  ผลิตในรูปฝักแห้ง จำหน่ายได้ราคา 25 -30 บาทต่อกิโลกรัม  มีพ่อค้ามารับซื้อ
ผลผลิตในหมู่บ้านช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

           อำเภอเขื่องใน เป็นแหล่งปลูกถั่วลิสงแหล่งใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานี  ครอบคลุม 3 ตำบล    ได้แก่ บ้านโพนทอง ตำบลบ้านไทย มีการ
ปลูกมากที่สุด เฉลี่ยแล้วรายละ 1-2 ไร่  กระจายอยู่บริเวณคลองส่งน้ำชลประทาน การจำหน่ายผลผลิต มีทั้งในรูปฝักสด ราคา 25 บาทต่อกิโลกรัม
วางขายริมถนนภายในหมู่บ้าน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมและเก็บเกี่ยวเพื่อขายฝักแห้งช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีเกษตรกร 5 - 10 ราย
ปลูกถั่วลิสงฤดูฝนในที่ดอนเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกฤดูแล้ง แต่พื้นที่ปลูกค่อนข้างหายาก



           ส่วนที่บ้านค้อทอง ตำบลค้อทอง การปลูกฤดูแล้งอยู่บริเวณคลองส่งน้ำชลประทาน ผลิตฝักแห้งเพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ หรือเก็บเมล็ดพันธุ์
ไว้ปลูกเองฤดูแล้ง โดยปลูกในที่ดอนหรือปลูกแซมในสวนยางพาราอายุ 1 - 2 ปี มีทั้งเป็นที่ของตนเองและเช่าพื้นที่ปลูก

           ส่วนในเขตบ้านวังอ้อ และบ้านวังถ้ำ ตำบลหัวดอน  ผลิตถั่วลิสงฝักแห้ง พื้นที่ปลูกมีตั้งแต่ 2 งาน ถึง 2 ไร่     กระจายอยู่บริเวณคลองส่งน้ำ
ชลประทาน การจำหน่ายผลผลิตมีพ่อค้ามารับซื้อผลผลิตในหมู่บ้านช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ราคา 22 - 25 บาทต่อกิโลกรัม

           การผลิตถั่วลิสงฤดูแล้งในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนใหญ่ปลูกพันธุ์ไทนาน 9 วิธีปลูกไถเตรียมดิน 1 - 2 ครั้ง  ยกร่องปลูก  ระยะระหว่าง
แถว 20 -50 เซนติเมตร ระยะรหว่างต้น 10 -20 เซนติเมตร  หลังปลูกพ่นสารป้องกันกำจัดวัชพืชอะลาคลอร์ และกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคน 1 ครั้ง
เมื่ออายุ 30 - 40 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี 1 ครั้ง อัตรา 15 - 100 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อถั่วลิสงอายุ 20 - 50 วัน มีการใช้สารป้องกันโรคแมลงศัตรูบ้างเมื่อมีการ
ระบาด   การเก็บเกี่ยวจะเริ่มปลายมีนาคมถึงเมษายน     ผลผลิตตั้งแต่ 250 - 450 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าเมล็ดพันธุ์ มีราคา
ตั้งแต่ 30 - 80 บาทต่อกิโลกรัม และการเก็บเกี่ยวมีการจ้างแรงงาน (ถอนและปลิดฝัก)   ต้นทุนการผลิตอยู่ระหว่าง 1,965 - 7,516 บาทต่อไร่ ราย
ได้สุทธิ 501 - 11,300 บาทต่อไร่




           ในปี 2554/55 พื้นที่ปลูกถั่วลิสงลดลงมาเมื่อเทียบจากปี 2553/54  ทำให้ผลผลิตมีน้อย และมีพ่อค้าจากต่างจังหวัดมารับซื้อผลผลิตถึงใน
แปลง ไม่กดราคาและตำหนิผลผลิตของเกษตรกรมาก สำหรับเกษตรกรที่ปลูกถั่วลิสงมามากกว่า 5 - 10 ปี   ก็ยังคงยึดอาชีพปลูกถั่วลิสงเพื่อเสริม
รายได้หลังฤดูกาลทำนา ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคทำให้กระทบต่อพื้นที่ปลูกซื้อจะลดลงบ้างก็ตาม

 ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก :  http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n15/v_4-may/korkui.html

การปลูกข่า

                                                                                                 การปลูกข่า
การเพาะปลูก การปลูกข่า





ข่ามีสองชนิด คือ ข่าหยวกและข่าเหลือง(ที่สวนก็มี) ข่าเป็นพืชกินหัวหรือเหง้าส่วนที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีการเจริญเติบโตออกทางข้างรอบตัวของแม่หรือหัวที่ใช้ปลูกครั้งแรก ที่หัวแม่นี้จะมีข้อและที่ข้อจะมีตา และที่ตานี่เองจะงอกเป็นหน่อโผล่พ้นดินขึ้นมา จากนั้นก็จะแตกหัวแขนงออกมาอีก จากหลายๆหน่อที่ปลูกก็จะแตกออกกลายเป็นกอใหญ่ที่มีหัวหรือเหง้าจำนวนมาก
ธรรมชาติ ของพืชหัวหรือเหง้า จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีอินทรีย์วัตถุมากที่ความลึกประมาณ 15-30 ซม. มีความชื้น 50-80 เปอร์เซ็นต์สม่ำเสมอ และต้องการแสงแดด 100% สำหรับในช่วงอากาศหนาวเย็นการเจริญเติบโตจะช้าลง

การเตรียมดิน

- ควรไถเปิดหน้าดินลึกอย่างน้อย 50 ซม. พร้อมกับใส่อินทรียวัตถุ แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ฯลฯ แล้วทำการไถย่อยให้ดินและอินทรียวัตถุเข้ากัน เพราะข่าชอบดินร่วนปนทราย เมื่อเวลาทำการย่อยสลายจะเป็นธาตุอาหารและอุ้มความชื้นได้ดี
- ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง หากทำเป็นแปลง ให้ยกแปลงเป็นหลังเต่าป้องกันน้ำขัง ขนาดกว้าง ยาวตามความเหมาะสม
-ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน

การเตรียมกล้าพันธุ์
วิธีที่ 1
- ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน โดยตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มี ข้อ+ตา 4-5 ตา ตัดก้านใบหรือต้นให้เหลือ 5-6 นิ้ว หรือจะตัดออกหมดเลยก็ได้ แต่ถ้ามีหน่อใหม่ติดมา ที่เพิ่งโผล่พ้นดินก็ให้เก็บไว้ สามารถนำไปปลูกต่อได้
- ล้างหัวพันธุ์ให้สะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา ระวังอย่าให้รากช้ำ เพราะรากสามารถเจริญเติบโตได้ แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูก

วิธีที่ 2
-ใช้หัวหรือแง่งแก่จัดทีซื้อมาจากตลาดใน สภาพที่ยังสด มีตาตามข้อเห็นได้ชัด ไม่จำเป็นต้องมีราก ตัดแต่งรอยช้ำ หรือเน่าที่หัวออกให้หมด แล้วนำไปแช่น้ำยากันรา จากนั้นนำขึ้นมาผึงลมในร่มให้แห้งแล้วทาแผลด้วยปูนแดงกินกับหมาก
- นำหัวพันธุ์ที่ได้มาห่มความชื้น โดยการห่อด้วยผ้าชื้นน้ำหนาๆ นำไปเก็บไว้ในร่ม...หรือ ห่มกระบะโดยมีฟางรองพื้นหนาๆ วางท่อนพันธุ์แล้วกลบด้วยฟางหนาๆอีกชั้น รดน้ำให้ชุ่มเก็บในที่ร่ม...หรือ จะนำลงเพาะชำในขี้เถ้าแกลบก็ได้ โดยใช้เวลาการห่มความชื้น 10-20 วัน รอให้รากงอกและแทงยอดใหม่ออกมา จึงนำไปปลูกต่อไป

การปลูก
-ขุด หลุมกว้างประมาณ 30 ซม. ลึก 10 ซม. นำดินที่ขุดขึ้นมาคลุกกับเมล็ดสะเดา หรือใบสะเดาแห้ง สัก 1-2 กำมือ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่หมักดีแล้วสัก 1 กระป่องนม ผสมดินปลูก พร้อมกับปรับหลุมให้เรียบ
- จากนั้นวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน
-ระยะการปลูก ควรจัดระยะระหว่างหลุม .80-1.00 ม. ระหว่างแถว 1.00-1.20 ม.
-หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตามทันที

การปฏิบัติและบำรุง
-หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้ง
-ให้ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอก ทุก 1-2 เดือน/ครั้ง แล้วรดด้วนน้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเองตามทันที
-ถ้า มีหน่อใหม่แทงขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกจะมีสีแดง บางรายอาจจะขุดขึ้นมารับประทานหรือนำไปขายเป็นข่าอ่อน แต่ถ้าต้องการเก็บไว้เพื่อเอาหัวหรือแง่ง ก็ให้นำเศษฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุม เพื่อป้องกันแสงแดด แล้วปล่อยไว้ให้กลายเป็นสีเขียวเพื่อพัฒนาเป็นต้นใหญ่ต่อไป
-การที่เอา เศษวัชพืช เศษหญ้า เศษฟางมาคลุมหน้าดินบริเวณโคนกอข่า เป็นการรักษาความชื้นหน้าดิน ซึ่งข่าเป็นพืชที่ชอบความชื้นหน้าดิน แต่ต้องมีการระบายน้ำที่ดีด้วย การเจริญเติบโตจึงจะสมบูรณ์และงาม
-การ ที่เราจะรู้ว่าข่ามีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้สังเกตดูว่า ข่าจะมีการแตกหน่อใหม่ออกมาอย่างสม่ำเสมอ ก้านใบอวบอ้วนใหญ่ ใบหนาเขียวเข้ม[/color]การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าอ่อน ให้ขุดเมื่อเริ่มออกดอกชุดแรก โดยการเปิดหน้าดินโคนต้นบริเวณที่จะเอาหน่อ แล้วตัดเอาเฉพาะส่วนที่ต้องการ
ข่า แก่ ให้ขุดเมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2 หรือมีหน่อเกิดใหม่ 5-6 หน่อ เมื่อข่าออกดอกชุดที่ 2-3 ก็จะได้หน่อหรือแง่งที่แก่ขึ้นไปอีก ทั้งขนาดและปริมาณก็มากขึ้นไปด้วย
-การขุดขึ้นมาแต่ละครั้ง ไม่ควรขึ้นขึ้นมาหมดทั้งกอ ให้เหลือไว้ 3-4 แง่ง เพื่อเป็นต้นพันธุ์ ซึ่งทำให้การปลูกข่าเพียงครั้งเดียว ก็สามารถอยู่ได้เป็นสิบปี
-หลังจากที่ขุดเอาหัว แง่งไปแล้ว ควรมีการปรับปรุงบำรุงดินทุกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์และเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-หลัง จากขุดเอาหัวหรือแง่งขึ้นมาแล้ว ต้องทำความสะอาดล้างเอาเศษดินที่ติดมาออกให้หมด แล้วตัดแต่งให้เรียบร้อย จากนั้นให้นำไปแช่ลงในน้ำสารส้ม ซึ่งจะช่วยให้หัวข่าขาวสะอาด และเป็นการรักษาให้ข่าแลดูสดได้นานวัน
นอกจากนี้ การปลูกข่าแซมในสวนไม้ผล กลิ่นของใบข่าจะช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ส่วนหัวหรือแง่งก็ยังป้องกันแมลงศัตรูพืชใต้ดินได้อีกด้วย นอกจากนั้น ข่ายังทำให้สภาพอากาศโดยรอบเย็นสบาย มีสภาพร่มเย็น

ข้อมูล นินจาขาเป๋ แห่งบ้านตะเกียง
ประโยชน์ของ การปลูกข่า
ประโยชน์ทางยา
เหง้าแก่ รสเผ็ดปร่า และรสร้อน สรรพคุณขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวม แก้พิษไข้ ซับโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน
ประโยชน์ทางอาหารการ ปรุงอาหาร คนไทยทั่วประเทศ รู้จักข่ากันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเหง้าแก่ เหง้าอ่อน และดอกข่า ถือได้ว่าเป็นผัก เหง้าแก่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส แต่งกลิ่น และเป็นเครื่องปรุงสำคัญของต้มยำทุกชนิด และแกงบางชนิด ส่วนเหง้าอ่อน ต้นอ่อน และดอกอ่อน นำมารับประทานสดๆ หรือลวกให้สุก ใช้เป็นเครื่องจิ้มกับน้ำพริก เหง้าอ่อนสด ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย เช่น ต้มข่าไก่ ตำเมี่ยงข่าไก่ หรือตำเมี่ยงข่า เป็นต้น

ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายเหง้า อ่อนมีรสเผ็ด มีสรรพคุณเป็นยา ขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนไซ้ท้อง ดอกอ่อนก็มี รสเผ็ดกฃเช่นเดียวกัน เหง้าอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 20 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และวิตามินซี 23 มิลลิกรัม

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://myveget.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2.html

การปลูกกุหลาบ

                                                                                              การปลูกกุหลาบ


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1. ต้นกุหลาบที่ถูกเลือกมาเป็นอย่างดี 
2. ดินสำหรับปลูกกุหลาบโดยเฉพาะ อันนี้ไม่มีสูตรตายตัวนะครับ ถ้าเราไปถามตามร้านขายต้นไม้ เค้าก็มักจะตอบว่าใช้ได้หมดแหละซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย เรื่องดินเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ในการปลูกกุหลาบ แล้วจะเลือกยังไง ? เอาง่ายๆนะครับ เลือกดินที่หลังจากปลูกไปแล้วในอนาคตจะไม่กลายสภาพเป็นดินเหนียวก็แล้วกัน
3. กระถางดินเผาที่ควรมีความกว้างของปากกระถางอย่างน้อย 1 ฟุต เพราะกุหลาบเป็นพืชที่กินแร่ธาตุในดินมาก ทำให้สารอาหารในดินหมดเร็ว และเราก็จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆ หากต้นโตขึ้น
4. ฟูราดาน สำหรับรองก้นกระถาง หรือหลุมถ้าปลูกลงดิน เพื่อป้องกันหนอนมากัดกินใบและดอก
5. ปุ๋ย ต่างๆ แล้วแต่ความชอบครับ เน่นให้เป็น บำรุงใบแล้วกัน เพราะถ้าใบดี ต้นก็จะแข็งแรง ดอกก็จะมาเองโดยไม่ต้องร้องขอ
6. ขลุยมะพร้ามป่นสำหรับคลุมบนผิวดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น อันนี้ต้องเอามาแช่น้ำทิ้งไว้ซัก 1 คืน ก่อนใช้นะครับ

ขั้นตอนการปลูก
1. เมื่อเราซื้อต้นกุหลาบมาไม่ว่าจะพันธุ์อะไรก็ตาม ให้พักต้นไว้ประมาณ 7 วัน ตัดดอกที่ติดมากับต้นปักแจกันให้หมดทั้งตูมทั้งบาน อย่าเสียดาย (นับลงมาจากดอก 5 ใบ แล้วตัด) ก่อนเอาลงกระถางหรือเอาลงดิน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงใดๆ ทั้งสิ้นในช่วงนี้ เพียงแต่รดน้ำตอนเช้าทุกวันเท่านั้นพอ การรดน้ำต้นกุหลาบ ก็ควรรดที่โคนต้นเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ฉีดน้ำเป็นสายรดทั้งต้น เพราะจะทำให้ต้นกุหลาบเป็นโรคง่าย "อันนี้ต้องจำไว้เลยนะครับ ไม่จำเป็นอย่ารดน้ำให้โดนดอกหรือใบ"
2. โดยภายใน 7 วันอันตรายนี้ ก็ให้ค่อยๆ ขยับต้นกุหลาบให้โดนแดนวันละนิด เช่น วันแรกให้วางต้นกุหลาบให้อยู่ในตำแหน่งที่โดนแดดประมาณ 1 ชั่วโมงพอ แล้วเพิ่มไปวันละชั่วโมง จนครับ 7 วัน ก็ประมาณ 6-8 ชั่วโมงพอดี
3. หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะเริ่มสั่งเกตเห็นว่ากุหลาบเริ่มแตกตาใหม่ๆ ออกมาใกล้กับบริเวณที่เราตัดดอกทิ้งในขั้นตอนที่ 1 แสดงว่าต้นแข็งแรงดี ถ้าไม่เป็นตามนี้ก็อาจจะมีอาการใบเหลือง ซึ่งแสดงว่าขาดน้ำ (รดน้ำไม่ชุ่มพอ)
4. วันที่ 8 ถ้าพร้อมก็ปลูกได้เลย โดยให้เอาต้นกุหลาบออกจากถุงเพาะ หรือกระถางเดิมซึ่งใบเล็ก แล้วนำไปใส่กระถางใบใหม่ โดยใส่ดินรองที่ก้อนกระถางก่อนประมาณ 3 นิ้ว กดให้แน่น วางต้นกุหลาบลงไปพร้อมดินเดิมที่ติดต้นมา เทดินที่เหลือใส่ ค่อยๆ อัด เหลือพื้นที่ไว้คลุมขลุยมะพร้าวที่แช่น้ำไว้ด้วยด้ว
5. ลองรดน้ำดู น้ำควรไหลผ่านชั้นดินลงไปได้ดี แต่ไม่เร็วเกินไป และไม่ช้าเกิน 10 นาที ถ้าเร็วเกินดินก็จะรักษาความชื้นไว้ไม่ดี แต่ถ้าช้าเกินก็จะทำให้รากเนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้จริงๆ
6. กระถางกุหลาบควรถูกวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดวันละอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจาก : http://rosesplanting.blogspot.com/2010/02/roses-planting_09.html